Archive for พฤศจิกายน 2012

พิมพ์เท่าไหร่… สีก็ไม่เหมือนหน้าจอสักที

พิมพ์เท่าไหร่… สีก็ไม่เหมือนหน้าจอสักที

เชื่อว่าแทบจะทุกท่านที่เคยพิมพ์รูปภาพออกมาจากเครื่อง Computer ที่บ้าน ก็ต้องเคยประสบกับปัญหาว่า ภาพที่พิมพ์ออกมาจากเครื่อง Printer นั้น สีผิดเพื้ยนไปจากที่เราเห็นในจอภาพ (มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี) และคงจะมีคำถามในใจว่า ทำไมพริ้นท์งานออกมาเท่าไหร่ สีก็ไม่เห็นเหมือนหน้าจอสักที

เพื่อที่จะหาเหตุผลมาอธิบายปัญหาดังกล่าว เราต้องเข้าใจเรื่องระบบสีหลักๆ ที่ใช้กันทั่วไปอยู่ ณ เวลานี้เสียก่อน นั่นก็คือ ระบบสี RGB และระบบสี CMYK

ระบบสี RGB ย่อมาจาก Red – Green – Blue ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นแสง เช่น จอทีวี, จอคอมพิวเตอร์, จอโทรศัพท์มือถือ, หรือแม้แต่จอ VDO Projector (ลองสังเกตจอ Projector บนเครื่องบิน ก็จะเห็นว่ามีเลนส์อยู่ทั้งหมด 3 สี) โดยระบบสี RGB นี้จะสามารถสร้าง “ขอบเขตสี” ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ นั่นคือ ระบบสี RGB จะสามารถสร้างเฉดสีต่างๆ จากแสงแม่สีทั้ง 3 สี ได้อย่างมากมายนับไม่ถ้วน

ที่มาของปัญหา
แน่นอนว่าการที่เราทำงานโดยดูสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ (ซึ่งเป็นระบบ RGB) และต้องพิมพ์งานออกมาใส่กระดาษโดยใช้ระบบ CMYK (ซึ่งมี “ขอบเขตสี” ที่เล็กกว่า) จะสร้างความปวดหัวให้กับเจ้า Computer พอสมควร

ท่านลองคิดดูว่า ถ้าไฟล์งานของเราใช้สีที่เป็นสีเขียวสะท้อนแสง หรือชมพูสะท้อนแสง (ซึ่ง “หน้าจอคอมพิวเตอร์” ใช้ระบบ RGB สามารถสร้างสีพวกนี้ขึ้นมาได้ แต่เครื่อง “Printer” ใช้ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างสี “แป๊ด” ได้ขนาดนั้้นได้) ตอนเราสั่งพิมพ์งานเจ้า Computer จะทำอย่างไร?

เจ้า Computer ก็ต้องพยายามตอบสนองความต้องการของนายของมัน โดยการแปลงสีเขียวแป๊ดๆ หรือสีชมพูแป๊ดๆ ที่เราต้องการ จากระบบ RGB ให้เป็น สีเขียว และสีชมพู ในระบบ CMYK ที่ใกล้เคียงกับระบบ RGB มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ระบบสี CMYK ย่อมาจาก Cyan – Magenta – Yellow – Black ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นสีทึบแสง เช่น สีโปสเตอร์ (ที่เราใช้ทำงานศิลปะส่งอาจารย์ตอนประถมฯ), สีน้ำ, และสีจากหมึกพิมพ์ นั่นเอง โดยระบบการพิมพ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่อง Printer ขนาดเล็กอยู่ที่บ้าน (ทั้ง Laser และ Inkjet) ไปจนถึงแท่นพิมพ์ขนาดใหญ่ อย่างแท่นพิมพ์ Offset ส่วนใหญ่ก็จะพิมพ์ด้วยระบบ CMYK ทั้งนั้น

ระบบสี CMYK นี้ จะมี “ขอบเขตสี” ที่เล็กกว่า “ขอบเขตสี” ของระบบ RGB นั่นคือ ระบบสี CMYK นั้นจะสร้างสีต่างๆ จากแม่สีหลักทั้ง 4 สี ได้น้อยกว่าแบบ RGB

ที่มาของปัญหา
แน่นอนว่าการที่เราทำงานโดยดูสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ (ซึ่งเป็นระบบ RGB) และต้องพิมพ์งานออกมาใส่กระดาษโดยใช้ระบบ CMYK (ซึ่งมี “ขอบเขตสี” ที่เล็กกว่า) จะสร้างความปวดหัวให้กับเจ้า Computer พอสมควร

ท่านลองคิดดูว่า ถ้าไฟล์งานของเราใช้สีที่เป็นสีเขียวสะท้อนแสง หรือชมพูสะท้อนแสง (ซึ่ง “หน้าจอคอมพิวเตอร์” ใช้ระบบ RGB สามารถสร้างสีพวกนี้ขึ้นมาได้ แต่เครื่อง “Printer” ใช้ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างสี “แป๊ด” ได้ขนาดนั้้นได้) ตอนเราสั่งพิมพ์งานเจ้า Computer จะทำอย่างไร?

เจ้า Computer ก็ต้องพยายามตอบสนองความต้องการของนายของมัน โดยการแปลงสีเขียวแป๊ดๆ หรือสีชมพูแป๊ดๆ ที่เราต้องการ จากระบบ RGB ให้เป็น สีเขียว และสีชมพู ในระบบ CMYK ที่ใกล้เคียงกับระบบ RGB มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

*** Computer จะแปลงสี RGB ให้เป็น CMYK โดยจะพยายามรักษาค่าสีให้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด

ผลก็คือว่า สิ่งงานพิมพ์ที่ได้จากเครื่อง Printer จะสีผิดเพื้ยนไปจากหน้าจอนั่นเอง! (สีเขียว และสีชมพูที่ได้จากการพริ้นท์ จะไม่ “แป๊ด” เท่ากับในหน้าจอคอมพิวเตอร์)

แล้วจะทำอย่างไรกันดี?วิธีลดปัญหาดังกล่าวทำได้ไม่ยาก นั่นก็คือ บอกให้จอคอมพิวเตอร์แสดงสีเฉพาะที่ระบบ CMYK สามารถทำได้นั่นเอง นั่นก็คือ เราต้องบอกให้โปรแกรมที่เราใช้ออกแบบงานสิ่งพิมพ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกมอย่าง Adobe Photoshop, Illustrator หรือ InDesign ทำงานในระบบ CMYK แทนที่ระบบ RGB

โปรแกรมเหล่านี้จะทำการตัดสีแป๊ดๆ ต่างๆ (หรือสีอื่นใด) ที่ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างได้ ออกไปจากสารบบของไฟล์งานของเรา เหลือเฉพาะสีที่ระบบ CMYK สามารถทำได้ให้เราเลือกใช้ในการออกแบบ

พอเรา Save ไฟล์ๆ ก็จะถูก Save ในระบบ CMYK และเมื่อเราสั่งพิมพ์งาน เจ้า Computer ก็ไม่จำเป็นต้องแปลงค่าสีจากระบบ RGB ให้เป็น CMYK ก่อนที่จะส่งไฟล์เข้าเครื่องพิมพ์อีกต่อไป

ผลก็คือ สีของงานพิมพ์ที่เราได้ จะใกล้เคียงกับสีที่เราเห็นในหน้าจอคอมพิวเตอร์

อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่โปรแกรมที่ผู้ใช้ทั่วๆ ไปตามบ้านคุ้นเคยส่วนใหญ่ เช่น Microsoft Word, Excel, และ PowerPoint ยังไม่สามารถที่จะทำงานในระบบ CMYK ได้

ดังนั้น หากท่านต้องการที่จะออกแบบงานสิ่งพิมพ์ ที่ต้องการควบคุมเรื่องคุณภาพของสีแล้วหละก็ ทำไฟล์งานเป็นระบบ CMYK จะปลอดภัยที่สุด…

ความรู้เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์

ระบบการพิมพ์แบบ 4 สี (CMYK) เป็นระบบการพิมพ์ที่นำเอาแม่สี 4 สี ได้แก่ Cyan (ฟ้า), Magenta (บานเย็น), Yellow (เหลือง), และ Black (ดำ) ของภาพใดๆ มาพิมพ์ซ้อนทับกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดภาพที่มีสีสันต่างๆ ขึ้นมานั่นเอง

* การนำแม่สีทั้ง 4 สี มาพิมพ์ซ้อนทับกัน เพื่อทำให้เกิดภาพ

ในทางการพิมพ์ ภาพแต่ละภาพที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปที่จริงแล้ว ประกอบไปด้วยแม่สีหลักๆ เพียง 4 ข้างต้นเท่านั้นเอง ซึ่งแม่สีหลักทั้ง 4 สีนี้ เมื่อนำมาผสม (โดยการพิมพ์ซ้อนทับกัน) ก็จะสามารถทำให้เกิดสีสันต่างๆ ได้นับล้านๆ เฉดสีทีเดียว

กระบวนการนำภาพใดๆ ไปแยกส่วนประกอบของสี เพื่อให้ได้แม่สี 4 สีหลักนี้ เรียกว่า “กระบวนการแยกสี” ซึ่งนับเป็นกระบวนการแรกของกระบวนการพิมพ์ หลังจากไฟล์งานเสร็จสมบูรณ์

ระบบการพิมพ์แบบ 4 สีนี้ นับว่าเป็นระบบการพิมพ์ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน

ฉะนั้น หากเราต้องการสร้างไฟล์งานสิ่งพิมพ์ เพื่อที่จะนำไปส่งให้โรงพิมพ์แล้วหละก็ เราต้องมั่นใจว่าไฟล์งานที่เรากำลังจะส่งไปนั้น เป็นไฟล์งานที่ถูกสร้างขึ้นในโหมด CMYK. (โปรแกรมสำหรับสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Adobe Photoshop, Illustrator, หรือ InDesign จะมีโหมด CMYK ให้เราเลือกใช้อยู่แล้ว)